ประโยชน์ของการตรวจบ้าน

ประโยชน์ของการตรวจบ้าน 10 ประการ

ตรวจบ้าน

10 เหตุผล ที่ทุกคนควร ตรวจบ้าน จากผู้เชี่ยวชาญ

บ้านหลังหนึ่ง กว่าจะซื้อ กว่าจะหาเงินมาดาวน์ได้ เราก็หมดพลังไปกับที่พักอาศัยแสนรักนี้สายตัวแทบขาด การตรวจบ้านเป็นเหมือนกับการตรวจสอบแบบวิเคราะห์เจาะลึกองค์ประกอบ ของการเป็นบ้านแสนสุข ในอีกหลายๆปีข้างหน้า เพื่อให้เราอยู่อาศัยได้อย่างไรเกังวล

ตรวจบ้าน ก่อนโอน

เหตุผลที่เราควร ตรวจบ้าน ก่อนรับโอน

ตรวจบ้าน ตาม 6 ข้อนี้ ก่อนโอนบ้าน ทุกครั้ง

ตรวจบ้าน ตาม 6 ข้อนี้ ก่อนโอนบ้าน ทุกครั้ง

การ ตรวจบ้าน หลังซื้อบ้านในสมัยนี้ มีราคาที่สูงขึ้นมากเนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นในทุกๆปี ทำให้การซื้อบ้านนั้นจำเป็นที่ต้องใช้เงิน อย่างมาก ดังนั้น หลักการตรวจรับบ้านง่ายๆดังนี้

  • ตรวจบ้าน ต้องฟังเสียงปั้มน้ำ

ทำไม ตรวจบ้าน ต้องฟังเสียงปั้มน้ำก่อน ? เพราะ ปั้มน้ำนั้นมีการอัดแรงดันตลอดเวลาให้คงที่หากมีแรงดันน้ำตกนั้นคือ มีน้ำรั่วในท่อน้ำดีจึงทำให้ปั้มดัง นั้นเอง

  • ระวัง รอยแตกร้าว ก่อนโอนบ้าน

รอยแตกร้าวนั้นมีหลากหลายสาเหตุ แต่สิ่งที่สังเกตุได้ง่ายในการ ตรวจบ้าน ก่อน โอนบ้าน คือ ขนาดของการแตกของรอยร้าว เพราะรอยร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวหรือแอ่นตัวของโครงสร้างนั้นจะมีขนาดที่ใหญ่ ระดับ cm แตกหากเป็นรอยร้าวที่เป็นเส้นเล็กๆ คือการร้าวของผิวฉาบปกติ

  • ฝ้าเป็นสิ่งสำคัญ

ทำไมถึงต้องมองไปที่ฝ้า ? เนื่องจากฝ้าของบ้านภายในจะเป็น ยิปซั่มบอร์ด ซึ่งหากโดนน้ำแล้วจะเกิดคราบน้ำ ทำให้เราทราบว่ามีการรั่วซึมของหลังคา หรือ ห้องน้ำชั้นบนได้

  • หน้าต่างไม่ควรมองข้าม

ทำไมถึงต้องมองไปที่หน้าต่าง ? เนื่องจากปัญหาที่พบบ่อยในจากการตรวจสอบคือน้ำรั่วขอบหน้าต่าง ทดสอบไม่อยากแค่ต่อน้ำกับสายยางและฉีดไปที่หน้าต่างให้ทั่ว ทิ้งไว้ไม่เกิน 10 นาที น้ำรั่วก็จะมีคราบน้ำตามมุมหน้าต่าง

  • ทดลองใช้งานให้ครบ

เราจำเป็นที่ต้องทดลองให้งานอปุกรณ์ภายในบ้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น อ่างล้างหน้า ชักโครก ปลั้กไฟ โดยเริ่มที่อ่างล้างหน้า ลองปิดสะดืออ่างและขังน้ำให้เต็มและปล่อยในทีเดียว ดูการรั่วซึม ต่อมาชักโครก ทดสอบการกดชักโครก โดยการใส่ขนมปังและทดลองกดว่าลงหรือไม่ สุดท้ายปลั๊กไฟ อย่างง่ายคือ การทดสอบการใช้งานเช่น สายชาร์จมือถือ เป็นต้น

  • เปิด-ปิดให้หมด

ในปัจจุบัน ที่ทางทีมงานตรวจบ้านพบเจอ คือ บานประตูปิดชนวงกบ ล็อคไม่ได้ / บานหน้าต่าง ล็อคไม่ได้ ล้อขูดราง ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องทดลองการปิด-เปิดทั้งหมด และให้โครงการแก้ไข

จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ ตรวจบ้าน แต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้งานและเข้าอยู่อาศัยของลูกค้าที่กำลังซื้อบ้านทุกท่าน เนื่องจากทาง บริษัท ออล วี เช็ค จำกัด เข้าใจถึงปัญหาของการเข้าอยู่อาศัย และ สิ่งที่จะเกิดตามมา จึงอยากให้ลูกค้าหรือคนที่กำลังจะตรวจรับบ้าน สามารถตรวจรับได้ด้วยตัวเองได้

รับตรวจบ้านและคอนโด , บริหารและควบคุมงานก่อสร้าง โดยวิศวกรทั้งหมด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.allwecheck.com หรือ 083-549-5708, 095-656-9446

หรือแอดไล์ ปรึกษาฟรีได้ที่ @allwecheck

 

ตรวจบ้าน (EP1 ระบบไฟฟ้าเต้ารับ)

ตรวจบ้าน (EP1 ระบบไฟฟ้าเต้ารับ)

วันนี้จะมาบอก ความสำคัญของการ ตรวจบ้าน เรื่องระบบไฟฟ้าเต้ารับ

ตรวจบ้าน เจอการต่อสายไฟเต้ารับผิด ประกอบด้วย 6 กรณีดังนี้

ต่อไปนี้ทาง ALL WE CHECK ขอแทนสายไฟทั้ง 3 แบบ ดังนี้

  • สาย Line ขอแทนว่า L
  • สาย Neutron ขอแทนว่า N
  • สาย Ground ขอแทนว่า G

ตรวจบ้าน เจอแบบที่ 1: สาย (L) หรือ (G) และ (N) ซึ่งเป็นสายที่ไม่มีไฟ

กรณีนี้จะทำให้ไม่มีไฟที่เต้ารับ เมื่อนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเสียบ จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงาน

แบบที่ 2 : ไม่ได้ต่อสาย G

กรณีนี้สามารถทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้  ซึ่งหากเกิดมีไฟรั่วที่เครื่องใช้ไฟฟ้า  แล้วผู้ใช้ไฟฟ้าไปสัมผัสตัวเครื่องก็อาจจะโดนไฟฟ้าดูดได้

แบบที่ 3 : ไม่ได้ต่อสาย (N)

กรณีนี้จะเป็นเหมือนกรณีที่ 1 คือ ไฟเดินไม่ครบวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงาน

แบบที่ 4 : สาย (N) และสาย (L) ต่อสลับกัน

กรณีนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้  มีไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าใช้สวิตช์ขั้วเดียว ซึ่งมักจะมีปัญหาไฟรั่วที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สลับขั้วไม่ได้  เป็นอันตรายอาจโดนไฟฟ้าดูดเมื่อไปสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า….*กรณีนี้จะเจอบ่อยที่สุดถ้ามีการใช้ปลั๊กพ่วง เหตุผลเพราะว่าสวิตช์ปิดเปิดที่ตัวปลั๊กพ่วงจะตัดวงจรไฟฟ้าแค่สายเส้นใดเส้นหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นสาย L หรือ N ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราเสียบสลับหรือไม่

แบบที่ 5: สาย (G) และสาย (L) ต่อสลับกัน

กรณีนี้เป็นอันตรายมาก  เนื่องจากปกติแล้วสายดินจะถูกต่อเข้ากับเปลือกหุ้มของเครื่องใช้ไฟฟ้า (ต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า)  ดังนั้นหากต่อสลับกันไฟก็จะมาทางสายดิน และมีไฟ 230 โวลต์ ปรากฏที่เครื่องใช้ไฟฟ้า!  เมื่อไปสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผิวเป็นโลหะ  เราก็จะได้รับไฟอย่างจังถูกไฟฟ้าดูดอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

แบบที่ 6: สาย (N) และสาย (L) ต่อสลับกันและไม่ได้ต่อสาย (N)

กรณีนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ทำงาน มีไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าใช้สวิตช์ขั้วเดียว ซึ่งมักจะมีปัญหาไฟรั่วที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สลับขั้วไม่ได้  เป็นอันตรายอาจโดนไฟฟ้าดูดเพื่อสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า

สำหรับการ ตรวจบ้าน นั้น

ระบบไฟ อย่างกรณีที่ 4 บางท่านอาจไม่ใส่ใจเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นสามารถใช้งานได้ปกติ

หากผู้อ่านบทความท่านใดสนใจให้ทางเราเข้า ตรวจบ้าน ของท่าน หรือต้องการปรึกษาปัญหาต่างๆ

เกี่ยวกับงานก่อสร้างสามารถติดต่อ ทีมงาน ALL WE CHECK ตลอด

ทีมงาน ตรวจบ้าน ALL WE CHECK ตรวจก่อนโอน สบายใจก่อนอยู่

จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ ตรวจบ้าน แต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้งานและเข้าอยู่อาศัยของลูกค้าที่กำลังซื้อบ้านทุกท่าน เนื่องจากทาง บริษัท ออล วี เช็ค จำกัด เข้าใจถึงปัญหาของการเข้าอยู่อาศัย และ สิ่งที่จะเกิดตามมา จึงอยากให้ลูกค้าหรือคนที่กำลังจะตรวจรับบ้าน สามารถตรวจรับได้ด้วยตัวเองได้

รับตรวจบ้านและคอนโด , บริหารและควบคุมงานก่อสร้าง โดยวิศวกรทั้งหมด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.allwecheck.com หรือ 083-549-5708, 095-656-9446

หรือแอดไล์ ปรึกษาฟรีได้ที่ @allwecheck

หลักการ ตรวจบ้าน เบื้องต้น

หลักการ ตรวจบ้าน เบื้องต้น ประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ ดังนี้


1)หมวดงานสี

งานสีและผนัง แบ่งออกเป็นความสวยงามของสีที่ทา เช่น สีที่ทานั้นมีการด่าง (สีไม่เหมือนกันเนื่องจากสีที่ทาให้เวลาห่างกันเกินไป) โดยสามารถตรวจสอบได้จากการมองผ่านจุดที่มีแสงแดดผ่าน เป็นต้น


2)หมวดงานผนัง
งานผนัง สามารถแบ่ง ออกเป็นการฉาบ และรอยร้าว โดย จะพูดถึงงาน ฉาบก่อน เช่น งานฉาบผนังเป็นคลื่น คือ การมองผ่านแสงจะเห็นว่าผนังนั้นเป็นคลื่น ต้องทำการแก้ไขโดยการ ฉาบผิวบางแต่งให้เรียบ เป็นต้น
รอยร้าว นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุและหลายรูปแบบ แต่สามารถแบ่งออกเป็นจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
• รอยร้าวแบบร้าวผิวฉาบ เกิดจากอากาศ หรือ การฉาบที่หนาเกินไป สามารถแก้ไขโดย การสกัดตามรอยร้าวและปิดด้วยปูนกาว เป็นต้น
• รอยร้าวแบบ การทรุดตัวไม่เท่ากัน จะพบเห็นรอยร้าวเป็นเส้นทแยงมุมจากเสาไปอีกเสา นั้นเกิดจากการทรุดตัวของโครงสร้างที่ไม่เท่ากัน ควรให้วิศวกรตรวจสอบ
• รอยร้าวตามมุม วงกบหรือหน้าต่าง จะพบเห็นได้ตามุมวงกบและหน้าต่าง สาเหตุมาจาก ไม่ได้ตีตะแกรงโกงไก่ให้เรียบร้อยตามมุมวงกบก่อนทำการฉาบ เป็นต้น
• รอยร้าวจากการแอ่นตัวของคาน จะพบเห็นว่ารอยร้าวเป็นเส้นตรงลงมา เกิดจากการแอ่นตัวของคาน (คานมีการแอ่นตัวได้ตามโมเม้นเป็นเรื่องปกติแต่ต้องอยู่ในค่าที่ยอมให้ ) แต่ตอนฉาบอาจเว้นช่องว่าระหว่างแนวคานเอ็นทับหลังกับแนวคานที่น้อยเกินไปจึงทำให้เกิดรอยร้าวแบบนี้ได้

3)หมวดงานกระเบื้อง
หลักๆของงานตรวจกระเบื้องจะแบ่งออกเป็น
• กระเบื้องร่อน เกิดจากการที่ช่างทาปูนกาวที่เต็มแผ่นหรือใช้เกียงในการปาดปูนไม่ถูกต้อง (ต้องให้เกรียงหวี ปูกระเบื้อง) ตรวจสอบได้จากการเคาะและฟังเสียงสามารถใช้ เหรียญ 10 บาทเคาะฟังเสียงได้ ถ้าหากร่อนจะมีเสียงดังแบบกวงๆ
• กระเบื้องบิ่น เกิดจากตอนปูกระเบื้อง ช่างทำการเจียมุมต่างๆและและทำให้เกิดการบิ่นแตก
กระเบื้องเป็นสันปูไม่เสมอ เกิดจากการปูกระเบื้องและไม่ได้เคาะปรับระดับกระเบื้องและตรวจสอบด้วยระดับน้ำก่อน

4)หมวดงานไฟฟ้า
การตรวจระบบไฟฟ้านั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการตรวจสอบ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลักประกอบไปด้วย
• การตรวจสอบการเข้าสายปลั๊กไฟว่าเข้าสาย L N G ถูกต้องหรือไม่ สามารถตรวจสอยด้วยเครื่องทดสอบของ MEA หรือจะทำการทดสอบโดยใช้ไขควงทดสอบไฟจิ้มไปบริเวณจุดที่เป็นสาย L ถ้ามีไฟขึ้นแสดงว่าต่อเข้าสาย L ถูกตำแหน่งเป็นต้น
• การตรวจสอบระบบกันดูดหรือ ELCB มีความสำคัญอย่างมากต้องใช้อุปกรณ์ในการทดสอบ
• ตรวจสอบการเข้าขนาดสายไฟตามขนาดเบรกเกอร์หรือไม่ เพราะถ้าหากใช้เบรกเกอร์ที่มีขนาด A ที่สูงเกินที่สายไฟรับได้อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้


5)หมวดงานประปา
• ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อน้ำดี โดยดูจากปั๊มน้ำได้ถ้าไม่มีการใช้น้ำแต่ปั๊มดังแสดงว่ามีจุดรั่วซึม เนื่องจากแรงดันในท่อน้ำตก
• ตรวจสอบการระบายน้ำของท่อระบายน้ำภายในและนอกบ้าน โดยการขังน้ำในห้องน้ำให้เต็มและทำการปล่อยลูกปิงปองหรือฝาขวดน้ำ ถ้าหากไม่มีสิ่งอุดตัน ฝาต้องไปออกที่บ่อดักกลิ่น เป็นต้น
• ตรวจสอบการรั่วซึมจากข้อต่ออุปกรณ์ต่าง ๆในภายและนอกบ้าน
• ตรวจสอบน้ำขังภายในห้องน้ำและระเบียงภายนอก

6)หมวดงานฝ้า
งานฝ้านั้นหากมีรอยแยกส่วนใหญ่นั้นมาจากรอยต่อแผ่นฝ้าซึ่งต้องทำการแก้ไขโดยการใช้ฝ้าดิบและยิปซัมในการแก้ไขถ้าหากรอยต่อผ้าไม่ได้ใช้ผ้าดิบในบริเวณรอยต่อแผ่นฝ้าอาจเกิดการแตกร้าวของรอยต่อได้ง่ายขึ้น

7)หมวดงานประตู
ในส่วนของประตู ส่วนหลักๆในการตรวจสอบดังนี้
• ตรวจสอบประตูว่าบานประตูกับวงกบเกิดช่องแสงหรือไม่ถ้ามีควรปรับบานใหม่
• ตรวจสอบประตูนั้นมีการโก่งตัวหรือไม่ โดยการเปิดประตูออกมาแล้วเดินหากออกจากประตูแล้วมองสันบานประตูว่าโกงหรือไม่
• ตรวจสอบการใช้งานของประตูว่าสามารถล็อคและใช้งานได้ปกติหรือไม่

8)หมวดงานหน้าต่าง
ในส่วนของหน้าต่าง ส่วนหลักๆในการตรวจสอบดังนี้
• ตรวจสอบว่าบานหน้าต่างนั้น สานมารถล็อคได้หรือไม่
• ตรวจสอบว่าหน้าต่างสามารถเลื่อนเปิดปิดได้หรือไม่
• ตรวจสอบรอยขีดข่วนบริเวณเฟรม
• ตรวจสอบ PU ด้านนอกว่ายิงรอบหน้าต่างครบหรือไม่เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม


9) หมวดงานพื้นไม้ปาร์เก้ และ ลามิเนต
ในส่วนของงานพื้นนั้นจะขอแบ่งออกเป็น ไม้ปาร์เก้และ ลามิเนต
โดยพื้นไม้ปาร์เก้ การตรวจสอบหลักๆมีดังนี้
• ตรวจสอบสีที่ผิวไม้ว่ามีคราบราดำขึ้นหรือไม่ได้ขึ้นแสดงว่าพื้นไม้โดนความชื้น
• ตรวจสอบว่าพื้นไม่ขึ้นเป็นสันบริเวณรอยต่อไม้หรือไม่ โดยการมองผ่านแสงจะเห็นว่ารอยต่อไม้จะขึ้นเป็นสันถ้ามีควรขัดพื้นไม้ใหม่
• ตรวจสอบปาร์เก้ร่อนเนื่องจากพื้น Topping ด้านล่างผิวปูนร่อนนั้นเองอาจทำให้กาวที่ติดไม้นั้นเกิดปาร์เก้ระเบิดหรือกาวหลุดออกจากพื้นได้ แก้ไขโดยการยิงตะปู หรืออัดกาวเข้าไปในบริเวณนั้นๆ
• ตรวจสอบพื้นว่ามีรอยบิ่นหรือรอยต่างๆ หรือไม่

โดยพื้นลามิเนต การตรวจสอบหลักๆมีดังนี้
• ตรวจสอบพื้นลามิเนตยวบ เกิดจากการปรับระดับพื้นด้านล่างไม่ได้ระดับ จึงทำให้เกิดการเดินแล้วพื้นยวบนั้นเอง
ตรวจสอบโดยการเดินและให้อีกคนมองดูว่ายวบมากหรือไม่ เนื่องจากโดนทั่วไปแล้วลามิเนตนั้นจะมีโฟมรองด้านล่างประมาณ 2 mm
• ตรวจสอบรอยต่อพื้นลามิเนตว่าเป็นสันหรือไม่ ตรวจสอบได้จากการเดินในบริเวณรอยต่อของแผ่นถ้าหากเกิดการสะดุดนั้น ควรให้แก้ไข
• ตรวจสอบพื้นว่ามีรอยบิ่นหรือรอยต่างๆ หรือไม่

10)หมวดงาน ระบบภายนอก
ในส่วนนี้หลักๆจะประกอบไปด้วย บ่อพักภายนอกบ้าน และ บ่อบำบัดต่างๆ
• ในส่วนของบ่อพักควรตรวจสอบระดับน้ำในบ่อพักไม่ควรมีน้ำขัง ถ้าหากพบน้ำขังนั้น อาจเกิดจากมีการอุดตันของท่อระบายน้ำใยหินในระหว่างบ่อที่มีน้ำขังกับบ่อด้านหน้าควรทำการแก้ไข
• ในส่วนของบ่อบำบัดต่างๆ ควรทำการเปิดเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและความสะอาดในเบื้องต้น

ตรวจบ้านตรวจเมื่อไรอย่างไร ?

ารตรวจบ้านคือตรวจบ้านก่อนโอนบ้านหรืออีกอย่างนึ่งคือการโอนกรรมสิทธิ์จากโครงการสู่ผู้ซื้อบ้านนั้นเองการตรวจบ้านนั้นลูกค้าสามารถตรวจเองได้โดยการออกรายการกับวิศวกรของโครงการหรือสามารถให้บริการตรวจบ้านจากบริษัทรับตรวจบ้านได้เช่นกัน

ขั้นตอนการตรวจบ้านกับโครงการ ( ลูกค้าตรวจเอง )

  • ลูกค้านัดหมายวันกับโครงการ
  • วันที่เข้าตรวจบ้านจะมีวิศวกรของโครงการจดรายการ
  • หลังจากออกรายการตรวจบ้านจนครบ ลูกค้าจะต้องเซ็นรับทราบรายการได้ วิศวกรตามจดจากการออกรายการของลูกค้า
  • วิศวกรโครงการจะนัดวันที่ซ่อมแซมบ้านตามรายการแล้วเสร็จ
  • เมื่อถึงวันที่นัดหมายจะเป็นการตรวจบ้านรอบสองจากรายการที่ออกไปในรอบที่แล้วว่าซ่อมแซมเสร็จตามที่ออกรายการไว้หรือไม่
  • หากในรอบนี้แก้ไขครบถ้วนแล้วจะมีการเซ็นรับรายการบ้านว่าแก้ไขครบถ้วนแล้ว หากยังไม่ครบถ้วนวิศวกรโครงการจะนัดวันที่ซ่อมแซมบ้านตามรายการที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง

ขั้นตอนการตรวจบ้านโดยใช้บริการบริษัทตรวจบ้าน

  • ลูกค้านัดหมายวันกับทางบริษัทตรวจบ้าน
  • ลูกค้าแจ้งวันกับทางโครงการ
  • ทางบริษัทจะส่งวิศวกรเข้าไปตรวจสอบบ้านของลูกค้าและทำการออกรายการ
  • ทางบริษัทจะทำรายงานการตรวจสอบส่งทาง Email ให้กับทางลูกค้าและโครงการภายใน 3 วันหลังจากการตรวจสอบ
  • ทางโครงการจะแจ้งวันที่ซ่อมแซมบ้านตามรายการแล้วเสร็จให้กับทางลูกค้าทราบ
  • ทางลูกค้าแจ้งนัดหมายวันที่จะให้ทางบริษัทตรวจบ้านเข้าตรวจรายการในรอบที่ สอง
  • ทางบริษัทจะส่งวิศวกรเข้าไปตรวจสอบรายการซ่อมแซมตามรายงานการตรวจบ้านและตรวจสอบว่าการซ่อมแซมนั้นผ่านและถูกต้องตามหลักวิศวกรรมหรือไม่
  • ทางบริษัทจะสรุปรายการตรวจบ้านที่เหลืออยู่ให้กับทางลูกค้า หากทางโครงการซ่อมแซมไม่ครบหรือไม่เรียบร้อยตามรายการที่ออกในรอบที่แล้ว เพื่อที่ลูกค้าจะสามารถตรวจในครั้งต่อไปได้เอง

 

 

ตรวจประกันปีคืออะไร ?

ตรวจบ้านประกันปีนั้นคือการครบกำหนดประกันปีของตัวบ้านหลังจากที่ได้รับโอนหรือส่งมอบจากโครงการแล้วโครงการจะเข้าซ่อมแซมงานภายในและนอกตัวบ้านให้กับลูกค้าโดยที่ลูกค้าสามารถออกรายการให้โครงการแก้ได้ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมรอยแตกร้าวของผนังรอบตัวบ้านหรือจะเป็นงานระบบน้ำและไฟฟ้าที่มีผลกระกบต่อการอยู่อาศัยสามารถออกรายการได้ทั้งหมด

ตรวจบ้านประกันปีออกรายการอย่างไร ?

การออกรายการบ้านประกันปีนั้นมีหลักการออกรายการดังนี้

  • การออกรายการตามผลทบกับการใช้งานของลูกค้า เช่น มีน้ำรั่วซึมตามวงกบอลูมิเนียมมีความเป็นไปได้ว่าซิลิโคนรอบวงกบอลูมิเนียมอาจเกิดการเสื่อมสภาพ เป็นต้น
  • ออกรายการรอยร้าวรอบตัวบ้าน , ออกรายการน้ำขังตามบริเวณพื้นส่วนที่รับน้ำของบ้าน
  • ออกรายการความชื้นของแผ่นไม้พื้นปาร์เก้สามารถตรวจได้โดยการดูที่ผิวไม้จะเป็นว่าเปลี่ยนเป็นสีดำนั้นเอง
  • ออกรายการความชื้นหรือราบริเวณ wallpaper สามารถตรวจได้โดยการดูที่ผิวของ wallpaper จะพบเห็นจุดสีชมพู เนื่องจากเกิดความชื้นอาจมีน้ำซึมเข้าภายในบ้านนั้นเอง

โดยแท้จริงแล้วการออกรายการประกันปีนั้นลูกค้าสามารถตรวจได้ด้วยตนเองเนื่องจากการอยู่อาศัยตลอดทั้งปีก็สามารถทราบถึงจุดที่เป็นผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อตัวบ้านได้และส่วนความสวยงานลูกค้าสามารถออกรายการทาสีทั้งตัวบ้านได้ถ้าหากพบรอยแตกร้าวของผิวปูน ( ส่วนมากเกิดจากผิวปูนฉาบที่แตกตัวเนื่องจากกระทบอากาศร้อนและเย็นบ่อยครั้ง ) หรือไม่ว่าจะเป็นรอยร้าวบริเวณรั้วบ้านก็สามารถออกรายการได้เช่นกัน

บทความนี้หวังว่าจะสามารถช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องการออกรายการประกันปีไม่มากก็น้อยก็ถือเป็นความสุขของทีมงาน allwecheck

 

 

 

การตรวจบ้าน ทำไมต้องใช้วิศวกร

วามจริงแล้วทุกโครงการบ้านจะมีวิศวกรคุมงานอยู่แล้วและมีวิศวกรความคุมคุณภาพในการตรวจสอบอีกทีหนึ่งแต่งานก่อสร้างนั้นคืองานฝีมือจึงย่อมเกิดข้อผิดพลาดได้และการตรวจบ้านก่อนโอนโดยวิศวกรก็เหมือนการช่วยตรวจสอบอีกทีหนึ่งโดยวิศวกรเหมือนกันเพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับบ้านที่อยู่อาศัย

วิศวกรที่มาตรวจสอบควรจบสาขาไหน ?

ในการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นถูกออกแบบโดยวิศวกร สาขา โยธา และความคุมงานโดยวิศวกร สาขาโยธา แต่บ้านนั้นไม่ได้มีเพียงโครงสร้างอย่างเดียวยังมีงานระบบไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้นจึงควรมีวิศวกร สาขา ไฟฟ้าในการตรวจสอบด้วย ไฟฟ้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเพราะสิ่งอำนวยความสะดวกสมัยนี้นั้นต่างใช้ไฟฟ้าในการให้พลังงาน หากไม่ตรวจสอบระบบไฟฟ้า อาจมีข้อผิดพลาด เช่น ต่อสายดินไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ระบบปลั๊กไฟหรือเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีระบบกันดูดไม่ทำงานถ้าระบบกันดูดนั้นไม่ทำงานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรตรวจสอบด้วยเช่นกัน

ความแตกต่างของวิศวกรในการตรวจบ้านกับสาขาอื่น ?

วิศวกรที่มีประสบการ์ณและความรู้ในการก่อสร้างจะสามารถถึงปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นชนิดของรอยร้าวผนังว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดเนื่องจากมีความเข้าใจในงานก่อสร้างจากความรู้ที่ได้เรียนมาและประสบการ์ณที่พบเจอจะสามารถอธิบายถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทรุดตัวของโครงสร้างที่มีเสาเข็มขนาดและความลึกไม่เท่ากันจึงทำให้เกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน จึงความแยกโครงสร้างทั้ง สอง นั้นออกจากกันเพื่อไม่เกิดการดึงกันและเกิดการแตกร้าวของผนังได้