การตรวจบ้าน ทำไมต้องใช้วิศวกร

วามจริงแล้วทุกโครงการบ้านจะมีวิศวกรคุมงานอยู่แล้วและมีวิศวกรความคุมคุณภาพในการตรวจสอบอีกทีหนึ่งแต่งานก่อสร้างนั้นคืองานฝีมือจึงย่อมเกิดข้อผิดพลาดได้และการตรวจบ้านก่อนโอนโดยวิศวกรก็เหมือนการช่วยตรวจสอบอีกทีหนึ่งโดยวิศวกรเหมือนกันเพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับบ้านที่อยู่อาศัย

วิศวกรที่มาตรวจสอบควรจบสาขาไหน ?

ในการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นถูกออกแบบโดยวิศวกร สาขา โยธา และความคุมงานโดยวิศวกร สาขาโยธา แต่บ้านนั้นไม่ได้มีเพียงโครงสร้างอย่างเดียวยังมีงานระบบไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้นจึงควรมีวิศวกร สาขา ไฟฟ้าในการตรวจสอบด้วย ไฟฟ้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเพราะสิ่งอำนวยความสะดวกสมัยนี้นั้นต่างใช้ไฟฟ้าในการให้พลังงาน หากไม่ตรวจสอบระบบไฟฟ้า อาจมีข้อผิดพลาด เช่น ต่อสายดินไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ระบบปลั๊กไฟหรือเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีระบบกันดูดไม่ทำงานถ้าระบบกันดูดนั้นไม่ทำงานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรตรวจสอบด้วยเช่นกัน

ความแตกต่างของวิศวกรในการตรวจบ้านกับสาขาอื่น ?

วิศวกรที่มีประสบการ์ณและความรู้ในการก่อสร้างจะสามารถถึงปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นชนิดของรอยร้าวผนังว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดเนื่องจากมีความเข้าใจในงานก่อสร้างจากความรู้ที่ได้เรียนมาและประสบการ์ณที่พบเจอจะสามารถอธิบายถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทรุดตัวของโครงสร้างที่มีเสาเข็มขนาดและความลึกไม่เท่ากันจึงทำให้เกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน จึงความแยกโครงสร้างทั้ง สอง นั้นออกจากกันเพื่อไม่เกิดการดึงกันและเกิดการแตกร้าวของผนังได้

 

 

 

 

 

ตรวจบ้าน คืออะไร ทำไมถึงต้อง ตรวจบ้านก่อนโอน ?

ตรวจบ้าน คืออะไร ตรวจบ้านก่อนโอน สำคัญอย่างไร ?

ตรวจบ้านนั้นคือสิ่งที่อยู่กับเราและเป็นที่พักอาศัยของทุกคนในครอบครัวถ้าหากเราตื่นมาพบกับบ้านที่ปราศจากปัญหาในทุกเช้าเราก็จะเริ่มต้นด้วยความสุข แต่ถ้าบ้านมีปัญหาเราก็จะอยู่ในความทุกข์ บ้านที่ซื้ออยู่ราคาในสมัยนี้สูงมากขึ้นเนื่องจากราคาที่ดินสูงขึ้นดังนั้นเราต้องใช้จ่ายเงินที่สูงมากเพื่อแลกกับที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน แล้วเราจึงควรตรวจบ้านก่อนโอนเพื่อความสบายใจในอนาคต

ราคา ตรวจบ้าน แพงจริงหรือไม่ ?

ราคาบ้านเดี่ยวในสมัยนี้อยู่ประมาณ สามล้านบาทขึ้นไป ถ้าคิดมูลค่าในการผ่อนชำระแล้วประมาณ สองหมื่นหนึ่งพันบาทต่อเดือน
ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมากแต่ราคาตรวจบ้านโดนวิศวกรนั้นอยู่ที่ประมาณ ห้าพันบาทต่อหลังในการตรวจสอบสองรอบถ้าเรานำราคาค่าตรวจบ้านมาเทียบกับมูลค่าในการผ่อนชำระต่อเดือนแล้วจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการตรวจบ้านนั้นอยู่ประมาณ 23.80 % ของมูลค่าผ่อนชำระ จะเห็นได้ว่าราคาตรวจบ้านโดยวิศวกรนั้นไม่ได้แพงเลยถ้าเทียบกับความสบายใจที่จะอยู่อาศัยในบ้านของเราอย่างปราศจากปัญหากวนใจต่าง ๆในอนาคต

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการตรวจบ้านคือ ?

สิ่งที่สำคัญสุดนั้นจริง ๆแล้ว คือ งานระบบไฟฟ้า ประปา เพราะถ้าหากงานระบบมีปัญหาแล้วผู้อยู่อาศัยก็ไม่อาจที่จะใช้งานได้และเป็นสิ่งที่ควรแก้ไขโดยเร่งด่วน

ระบบประปา
การตรวจสอบระบบประปานั้นมีทั้งการรั่วซึมของน้ำดีและน้ำเสีย โดยน้ำดีรั่วซึมคือการรั่วตามข้อต่อต่าง ๆที่ส่งน้ำขึ้นมาสำหรับการใช้งาน และน้ำเสียคือท่อน้ำถึงต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกบ้าน เช่นท่อน้ำทิ้งตันทำให้เกิดการะบายน้ำไม่ทันน้ำขังภายในห้องน้ำหรือระเบียง เป็นต้น

ระบบไฟฟ้า
การตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นมีทั้งขนาดสายไฟที่เข้า เบรกเกอร์ไฟฟ้าว่าถูกต้องหรือไม่ การตรวจสอบค่าความต้านทานของสายดินว่ามีค่าความต่างศักย์เกิด ห้า โอมหรือไม่ การตรวจสอบระบบกันดูดว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่

การตรวจบ้านที่ดีคือรายการเยอะใช่หรือไม่ ?

การตรวจบ้านต้องคำนึงถึงการแก้ไขและผลกระทบที่จะตามมาจากการแก้ไขของรายการด้วยถ้ารายการที่พบนั้นเป็นเพียงแค่ความสวยงามของงานสถาปัตยกรรมที่ไม่เรียบร้อยแต่ถ้าหากแก้ไขไปอาจทำให้เกิดรายการเพิ่มเติมก็ไม่ควรที่จะแก้ไขเพราะจะทำให้เกิดผลกระทบที่มากกว่ารายการที่เกิดในตอนแรกนั้นเอง

128 วิธี “ตรวจบ้านด้วยตัวเอง”

หมวดงานไฟฟ้า

  • การใช้งานของระบบกันดูด หรือ Safe t cut , ELCB ว่าสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
  • หลอดไฟ Downlight แต่ละดวงติดครบหรือไม่
  • ตรวจความถูกต้องในการเข้าสายไฟ L N G ว่าเข้าสายถูกต้องหรือไม่
  • ตรวจดู Label Circuit Breakerไฟว่าโครงการให้มาครบและถูกต้องหรือไม่
  • สายไฟกับขนาด Circuit Breaker มีความถูกต้องหรือไม่
  • สายไฟบนฝ้าสาย Flex ต่อถูกต้องหรือไม่
  • ฝา Junction box ปิดฝาเรียบร้อยหรือไม่

หมวดประปา

  • ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อน้ำดี โดยดูจากปั๊มน้ำได้ถ้าไม่มีการใช้น้ำแต่ปั๊มดังแสดงว่ามีจุดรั่วซึม เนื่องจากแรงดันในท่อน้ำตก
  • ตรวจสอบการระบายน้ำของท่อระบายน้ำภายในและนอกบ้าน
  • ตรวจสอบการรั่วซึมจากข้อต่ออุปกรณ์ต่าง ๆในภายและนอกบ้าน
  • ตรวจสอบน้ำขังภายในห้องน้ำและระเบียงภายนอก

หมวดโครงสร้าง

  • รอยร้าวผนัง จากสาเหตุต่างๆ เช่น ร้าวเฉียงเกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของโครงสร้าง เป็นต้น
  • การตัดแยกโครงสร้างที่มีเสาเข็มไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการทรุดตัวไม่เท่ากันควรตัดให้แยกออกจากกัน
  • รอยเชื่อมของโครงสร้างหลังคา

หมวดงานสถาปัตยกรรม

  • สีภายนอกและภายในสีด่างหรือเป็นเม็ดหรือไม่
  • สีฝ้าเป็นรอยด่างหรือไม่ สามารถดูผ่านแสงจะเห็นได้ชัดเจน
  • ฝ้าเป็นคลื่นหรือไม่
  • กระเบื้องมีการบิ่นหรือไม่
  • กระเบื้องร่อนหรือไม่ สามารถตรวจได้โดยการใช้เหรียญ10 บาท เคาะ
  • ผนังได้ดิ่งฉากหรือไม่ ตรวจสอบโดยการดูจากแนวกระเบื้องถ้าไม่ได้ฉากหรือเอียงจะเห็นได้จากแนวกระเบื้อง
  • รอยต่อบัวพื้นมีรอยร้าวหรือไม่
  • พื้นไม้บันไดมีรอยตะปูหรือไม่
  • พื้นปาร์เก้มีความชื้นหรือไม่ถ้ามีความชื้นจะขึ้นสีดำ
  • พื้นลามิเนตได้ระดับหรือไม่สามารถดูได้จากการยุบตัวเวลาเดิน
  • สีราวบันไดมีรอยเปื้อนหรือไม่
  • สีเหล็กรั้วบ้านมีรอยเปื้อนหรือสนิมหรือไม่
  • ประตูห้องต่างๆสามารถปิดและล็อคได้หรือไม่
  • บานอลูมิเนียมสามารถปิดและล็อคได้หรือไม่
  • วอลเปเปอร์มีความชื้นหรือไม่ดูได้จาก สีจะขึ้นเป็นชมพูหรือดำจากเชื้อรา
  • วอลเปเปอร์มีรอยฉีกขาดหรือไม่
  • ดูคราบน้ำบริเวณบานอลูมิเนียมว่ามีการรั่วซึมหรือไม่

สิ่งที่ควรตรวจสอบและติดตามหลังโอนบ้าน

  • มิเตอร์น้ำและไฟฟ้า เนื่องจากบางโครงการไม่ได้ทำการขอมิเตอร์ตั้งแต่ก่อนขายแต่จะทำการขอมิเตอร์ให้หลังจากที่ลูกค้าทำการโอนบ้านแล้ว บางทีโครงการอาจจะทำน้ำและไฟฟ้าชั่วคราวมาให้ใช้งานก่อน แต่อย่างไรก็ตามไฟฟ้าอาจเกิดปัญหาขึ้นได้เนื่องจากไฟฟ้าชั่วคราวนั้นกำลังไฟน้อยกว่ามิเตอร์ไฟฟ้าอยู่แล้วจึงทำให้อาจเกิดปัญหาไฟไม่พอได้
  • อุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เช่น กุญแจห้องทุกห้องและทำการทดสอบว่าใช้ได้หรือไม่, ใบรับประกันต่างๆ เช่น หลังคา ถังบำบัดภายในบ้าน , อุปกรณ์รีโมตต่างๆ ที่โครงการแถมให้ เช่น แอร์ เป็นต้น
  • ติดตามรายการแก้ไขบ้านที่ได้ตรวจสอบไว้การที่โอนบ้านไม่ได้หมายความว่าทางลูกค้าจะต้องเซ็นรับบ้านในการซ่อมแซมจึงความทำการแก้ไขให้เสร็จค่อยเซ็นรับบ้าน

ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับ “เรื่องน้ำๆภายในบ้าน”

ตำแหน่งที่ควรตรวจสอบ ปัญหาที่จะตามมา
ท่อน้ำทิ้งภายในบ้าน เช่น FD,RD มีเศษวัสดุก่อสร้างอุดตันภายในท่อ ในตอนแรกๆที่ยังไม่ได้ใช้งานอาจไม่มีปัญหาแต่ถ้ามีวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างไปติดอยู่จากท่อขนาด 2” อาจเหลือที่ให้น้ำไหลแค่ 50% แล้วในอนาคตรหากใช้งานไปมากๆมีเศษผมไปอุตตันอาจทำให้น้ำไม่สามารถไหลผ่านได้จนอุดตัน จึงควรทำการ ทดสอบระบบประปาก่อนโอนบ้าน นั้นเอง
น้ำขังในบ่อพัก น้ำขังในบ่อพักที่จะออกไปสู่บ่อพักรวมของโครงการอาจเป็นต้นเหตุให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ดั้งนั้นควรตรวจสอบให้ดีว่า Slope ของท่อน้ำที่จะออกไปได้ระดับหรือไม่ ถ้าได้ระดับไม่ควรมีน้ำขัง
น้ำขังระเบียง น้ำขังระเบียงในตอนแรกอาจไม่มีปัญหาเนื่องจากบ้านยังไม่มีรอยร้าวเกิดขึ้นแต่ถ้าปล่อยไว้ในอนาคตรเกิดมีรอยร้าวแล้วน้ำขังที่ระเบียงน้ำก็จะซึม ตามรอยร้าวและลงฝ้าชั้นล่างในที่สุด
น้ำรั่วท่อน้ำดี การตรวจสอบในส่วนนี้ไม่ยากอย่างที่คิดเพราะเวลาติดตั้งปั๊มน้ำหน้าที่ของปั๊มน้ำคือปรับแรงดันน้ำในท่อให้คงที่ตลอดหากมีการรั่วซึมแรงดันก็จะตรงทำให้ปั๊มต้องทำงานหากไม่มีคนใช้งานแล้วมีเสียงปั๊มทำงานจึงสรุปได้ว่าท่อน้ำดีมีการรั่วซึม
น้ำรั่วกระจกอลูมิเนียม น้ำรั่วกระจกเกิดได้หลายสาเหตุแต่ที่พบเห็นโดยมากจะเกิดจากการเสื่อมสภาพของ PU ที่ยิงรอบกระจกแต่ในส่วนการประกอบ เฟรมอลูมิเนียมไม่ดีก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่เพื่อความสบายใจจึงควรตรวจสอบด้วยการ Test น้ำก่อนโอนบ้าน